กาวยางติดพรม ยี่ห้อ Triplesix ติดฟองน้ำ ติดพรม ติดตั้งพรมถาวรได้ เป็นกาวปูกระเบื้องยางได้

฿785.00

กาวยางติดพรม


รหัสสินค้า: 000023

ราคา: 785.00 บาท

โปรโมชั่น

ซื้อ 50 ปิ็ปขึ้นไปลดเหลือปิปละ 776 บาท
ซื้อ 90 ปิ้ปขึ้นไปลดเหลือปิ็ปละ 765 บาท


ศัพท์เทคนิคด้านกาว
กาวยางติดพรม การติดประสาน (adhesion) เป็นกรรมวิธีที่ทำให้วัสดุที่เป็นของแข็งติดกันด้วยวัสดุ
เชื่อมติด (หรือกาว) ซึ่งมักจะเป็นแผ่นบางต่อเนื่อง ในการติดกาวส่วนใหญ่ต้องเตรียมผิวให้สะอาด
และขรุขระหรือเรียบเสมอกัน ความแข็งแรงของกาวนั้นอาจต้องใช้เวลา ความร้อน แรงกด หรือการ
แนบของวัสดุทั้งสองชิ้นเข้าด้วยกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของงานและชนิดของกาว การเชื่อมติดด้วยกาวมี
ทั้งแบบถาวรซึ่งกาวจะใช้ได้ครั้งเดียวและจะเสียไปเมื่อถูกลอกหรือหักออก และแนบไม่ถาวรซึ่งใช้
ซ้ำได้ วัสดุติดกาวหลุดออกจากกันได้ในสองลักษณะ คือ กาวหลุดจากวัสดุที่เชื่อมติด (adhesive
failure) และเนื้อกาวแยกหลุดออกจากกัน (cohesive failure)


กาว (adhesive) เป็นวัสดุที่ใช้สำหรับยึดติดวัตถุตั้งแต่สองชิ้นเข้าด้วยกัน ส่วนใหญ่
เป็นวัสดุประเภทพอลิเมอร์ ในอดีตเราใช้กาวที่ได้จากธรรมชาติ เช่น เคซีนในน้ำนม น้ำยางจาก
ต้นไม้ แป้ง หรือสารที่สกัดจากเกล็ดปลา ไข่ขาว หรือเขาสัตว์ แต่กาวที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ส่วน
ใหญ่เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ทั้งที่เป็นชนิดเทอร์โมพลาสติก (thermoplastic) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์แข็ง
มีการยึดติดที่ดีที่อุณหภูมิห้อง อ่อนตัวได้เมื่อโดนความร้อน และชนิดเทอร์โมเซตติ้ง
(thermoseting) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์แข็งที่มีความคงทนต่อความร้อน และไม่ละลายในตัวทำละลาย
Bond Line เป็นช่องว่างระหว่างผิววัสดุซึ่งบรรจุด้วยกาว
Substrate เป็นวัสดุที่นำมายึดติดด้วยกาว
Surface ผิวหน้าของวัสดุที่ใช้ทากาวCure กาวเกิดปฏิกิริยา โดยจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็งโดย การคง
รูปของกาว ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นเนื่องจาก ความเย็น ตัวทำละลายระเหย หรือสารเคมีในส่วนประกอบ
เกิดปฏิกิริยา โดยส่งผลให้กาวเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และทางเคมี
Green Strength เป็นความแข็งแรงของกาวในการยึดติดวัสดุเข้าด้วยกันในช่วงแรก
ที่กาวเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง (ในช่วง green time)
Green Time (open time) เป็นระยะเวลาที่กาวเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็น
ของแข็งโดยนับจากการทากาวลงบนผิววัสดุที่ต้องการจะยึดติด
Kick Over เป็นการเพิ่มขึ้นของความหนืดอย่างทันทีทันใดในขณะที่กาวกำลัง cure
โดยกาวจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็งอย่างทันทีทันใด จึงจำเป็นต้องทากาวอย่าง
รวดเร็ว
Pot Life เป็นระยะเวลาที่กาวสามารถคงอยู่ในสถานะของเหลวในระหว่างการผสม
ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง
Rheology เป็นความสามารถในการไหล/การเปลี่ยนรูปของสาร โดยหากมีการ
ไหลง่ายแสดงว่าสารนั้นมีสมบัติด้านการไหลที่ดี
Shelf Life เป็นระยะของกาวที่สามารถเก็บไว้ก่อนการใช้งาน โดยไม่เสียสภาพ ซึ่ง
กาวโดยส่วนใหญ่มีอายุ 6-12 เดือน ซึ่งอายุมากขึ้นเมื่อเก็บไว้ในที่เย็น และอายุน้อยลงเมื่อวางไว้ใกล้
Viscosity เป็นค่าความหนืดที่ต้านการไหลของกาวและทำให้กาวมีความเข้มข้นขึ้น
กาวบางชนิดไหลได้ดี ในขณะที่กาวบางชนิดจะไหลยากเนื่องจากความเข้มข้นสูง
Wetting การเปียกผิวของหยดของเหลวบนวัสดุที่เป็นของแข็ง การเปียกผิวดีส่งผล
ให้การ ดึงดูดระหว่างผิววัสดุดี ซึ่งเป็น
ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการยึดติด
กาวยางเป็นพวกที่มีสายโซ่ของโมเลกุลยาวอยู่แล้ว แต่จะละลายหรือแขวนลอยอยู่ในตัว
ทำละลาย อย่างเช่น กาวน้ำ (ใสๆ) กาวลาเท็กซ์ (สีขาวขุ่นๆ) หรือกาวยาง (สีเหลืองขุ่นๆ) กาวพวกนี้
ต้องรอให้ตัวทำละลายแห้งออกไปหมดเสียก่อนจึงจะแข็งและยึดติดสิ่งของบางอย่างได้ เราคงเคย
เห็นช่างซ่อมรองเท้าทากาวบนพื้นรองเท้า (ที่ทำความสะอาดผิวแล้ว) แล้วปล่อยพึ่งไว้สักพักจึงค่อยประกอบ


ส่วนประกอบของกาว
1. พอลิเมอร์ (polymer) เป็นสารที่ทำให้เกิดการยึดติดวัสดุเข้าด้วยกัน ซึ่งสารที่ใช้
เป็นเนื้อกาวอาจแบ่งได้ตามลักษณะดังนี้
1. สารธรรมชาติ ได้แก่
– พวกที่ได้จากพืช (vegetable gum) แป้ง เด็กส์ตริน (dextrin)
– โปรตีนจากพืชและสัตว์ ยางธรรมชาติ เป็นต้น
– สารอื่นๆ เช่น ยางมะตอย (asphalt) เชลแลค ยางธรรมชาติ เป็นต้น
2. สารสังเคราะห์ ได้แก่- สารพวก Thermoplastic resin เช่น celluose ester and ester, alkyd and acrylic esters, polyamide
เป็นต้น
– สารพวกยางสังเคราะห์ เช่น neoprene, nitrile, polysulphide เป็นต้น
2. ตัวกระตุ้น (activator) เป็นสารเคมีที่เติมลงบนผิววัสดุได้โดยตรงหรือสามารถ
ผสมกับ กาว เพื่อเพิ่มการแห้งของกาวได้เร็วขึ้น
3. สารเร่งปฏิกิริยา (catalysts/accelerators) เป็นสารเคมีที่ใช้ในปริมาณน้อย เพื่อให้
กาว กลายเป็นของแข็ง
4. Curing Agent เป็นสารเคมีที่ใช้ เพื่อให้กาวกลายเป็นของแข็ง
5. สารอื่นๆ (miscellaneous component)
สารป้องกันการเสื่อมสภาพ (antioxidant) เป็นตัวที่ทำให้การเสื่อมของพันธะคู่ของพอลิ
เมอร์ช้าลง เนื่องจากการใช้งาน
สารช่วยเสริมประสิทธิภาพของผิว (surface active) เป็นตัวเสริมความเสถียรของ
คอลลอยด์ และความสามารถในการเปียกผิว
สารป้องกันการแข็งตัว เป็นกลุ่มของสาร stabilizer เช่น เอทธิลีนไกลคอล (ethylene
glycol) และ กลีเซอรอล (glycerol) เป็นต้น
สารป้องกันเชื้อรา เช่น เพนตะคลอโรฟีนอล (pentachlorophenol) และสารประกอบ
อินทรีย์ของปรอท เป็นต้น


กาว ยาง กาว ยาง ติด พรม กาว ยาง ติด ฟองน้ำ

ยาง ฟองน้ำ ติด เทป กาว กาว ติด ผนัง กาว น้ำ

 ยี่ห้อ Triplesix ติดฟองน้ำ ติดพรม ติดตั้งพรมถาวรได้ เป็นกาวปูกระเบื้องยางได้


รหัสสินค้า: 000023

ราคา: 785.00 บาท


รีวิวสินค้า      เพจ Facebook      สินค้าที่เกี่ยวข้อง


เกี่ยวกับเรา

กาวยาง  ใช้งานได้ 50 ตารางเมตร เนื้อกาวผลิตมาเพื่อติดพรมโดยเฉพาะ ทำให้ปูง่าย ติดทนนาน

ติดฟองน้ำรังไข่ได้ 20แผ่น

ติดพรมได้ 50ตรม.

มีบริการจัดส่งสินค้าทั่วประเทศ

 

 

 

 

 

 

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “กาวยางติดพรม ยี่ห้อ Triplesix ติดฟองน้ำ ติดพรม ติดตั้งพรมถาวรได้ เป็นกาวปูกระเบื้องยางได้”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *